การพัฒนากรรมวิธีการผลิตเพื่อเพิ่มคุณภาพแผ่นชิ้นแฝกอัดให้ทนปลวก(ระยะที่ 1)

Quality Development on Particleboard Manufacturing from Vetiver Grass
as Termite Tolerance (Phase 1)

เป้าหมาย

1. การศึกษาระดับปริมาณของกาว pMDI ที่มีความเหมาะสมในการนำมาผลิตเป็นแผ่นชิ้นแฝกอัด

2. การศึกษาการผลิตแผ่นปาร์ติเกิลจากแฝกดอนสายพันธุ์ราชบุรี (แหล่งปลูกจังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
ผสมกับชิ้นไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส

 

2.1 ปัจจัยแรกได้กำหนดปริมาณกาวไอโซไซยาเนต (pMDI) กาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ (UF) กาวฟีนอล-ฟอร์มัลดีไฮด์ (PF) ที่ระดับ 5% 10% และ 7% ตามลำดับ (เทียบกับน้ำหนักแห้งของชิ้นหญ้าแฝก)

2.2 ปัจจัยที่สองทำการศึกษาอัตราส่วนผสมชิ้นหญ้าแฝกต่อชิ้นไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 100:0, 0:100, 70:30, 50:50 และ 30:70

ผลการวิจัย


 

ภาพที่ 4 แสดงพื้นผิวของแผ่นชิ้นแฝกอัดจากหญ้าแฝกดอนพันธุ์ราชบุร

ภาพที่ 5 แสดงพื้นผิวของแผ่นชิ้นไม้อัดจากเศษไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส

สรุปผล

พบว่า การผลิตแผ่นชิ้นแฝกอัดโดยใช้แฝกดอนสายพันธุ์ราชบุรี (แหล่งปลูกจังหวัดราชบุรี) นั้น การใช้กาว pMDI ที่ระดับ 5% ก็เพียงพอที่จะทำให้แผ่นปาร์ติเกิลที่ได้ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน JIS A 5908 (1994) และการเพิ่มระดับของกาวเป็น 7% ก็ไม่ทำให้ค่าความต้านทานแรงดัดภายใต้สภาวะเปียก (wet MOR) ค่ามอดุลัสยืดหยุ่นภาย ใต้สภาวะเปียก (wet MOE) และ ค่าแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้า (IB) ที่ได้มีค่าเฉลี่ยแตกต่างทางสถิติ กับระดับของกาว 5% แต่อย่างใด ส่วนการเพิ่มสัดส่วนของชิ้นไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส ในการผลิตแผ่นจากแฝกดอนสายพันธุ์ราชบุรี (แหล่งปลูกจังหวัดประจวบคีรีขันธ์) ผสมกับชิ้นไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส นั้นพบว่าเมื่อเพิ่มสัดส่วนของชิ้นไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซีส ในการผลิตให้สูงขึ้น จะทำให้ ค่าความต้านทานแรงดัดภายใต้สภาวะแห้ง (dry MOR) ที่ได้ มีแนวโน้มที่ลดลง เมื่อใช้กาว pMDI และ กาว PF ส่วนค่า IB ที่ได้ จะมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้ง 3 ชนิดกาวที่ใช้ สำหรับค่าการพองตัวเมื่อแช่น้ำ (TS) และค่าการดูดซึมน้ำ ( WA) นั้นจะมีแนวโน้มที่ลดลงเมื่อใช้กาว PF และ UF แต่ไม่มีผลกระทบต่อการใช้กาว pMDI

Experimental Results

The results showed that producing vetiver grass particleboards from Ratchaburi nemorallis vetiver grass (source : Ratchaburi province) using isocyanate at 5 % was the optimized amount to get the board quality met the requirement of JIS A 5908 (1994) standard. Though increasing the amount of isocyanate binder to 7%, the values of modulus of rupture in bending under wet condition (wet MOR), modulus of elasticity in bending under wet condition (wet MOE), and internal bond (IB) were statistically insignificant when compared to the amount of binder at 5%. For the production of particleboards from Ratchaburi nemorallis vetiver grass (source : Prachuapkhirikhan province) mixed with particles of Eucalyptus camaldulensis by using three types of binders, the findings showed that when the mixing quantity of Eucalyptus camaldulensis particles was increased, the dry MOR values decreased with using pMDI and PF resin and the IB values increased with using all three types of binders. For thickness swelling (TS) and water absorption (WA) values, both decreased when using PF and UF resins but seemed inefficient when using pMDI as binder .

 

งานอุตสาหกรรมวัสดุทดแทนไม้และกาวติดไม้ กลุ่มงานพัฒนาอุตสาหกรรมไม้
สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ โทร 0-2561-4292-3 ต่อ 5471
โทรสาร 0-2940-6285 e-mail :
[email protected]