กิจกรรม
รุกขกรรม

การดำเนินงานด้านรุกขกรรม เพื่อทำหน้าที่ในการดูแลรักษา และตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ

image 1
image 2
image 3
image 4
image 5

งานด้านรุกขกรรม

กรมป่าไม้ เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ป้องกันรักษาป่า พร้อมกับส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าให้กับประชาชน

งานด้านรุกขกรรมของกรมป่าไม้เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่จะทำให้ต้นไม้สวยงาม แข็งแรง และสร้างทัศนียภาพที่ดีให้แก่เมือง โดยให้บริการหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนได้อย่างทั่วถึงและถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อทำให้การปฏิบัติงานรุกขกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการป่าชุมชนให้คนอยู่กับป่าอย่างเกื้อกูลกันเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเพิ่มพื้นที่ป่าให้กับประเทศไทย ซึ่งต้นไม้ที่ขึ้นอยู่บางพื้นที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจมีความสำคัญกับชุมชน มีคุณค่าทางจิตใจ บางต้นเป็นพันธุ์ไม้หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ หรือมีความสำคัญเชิงนิเวศ หากมีการสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษา ต้นไม้สำคัญเหล่านี้ เป็นการช่วยให้เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

เอกสาร
กิจกรรม

เอกสาร แผ่นพับ และOne-page (กระดาษหนึ่งใบ เข้าใจประเด็น)
กิจกรรมและการปฏิบัติงานด้านรุกขกรรมส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

  • ชนิดพันธุ์ไม้ที่ควรปลูกในเมือง

    ๒๘ ก.พ. ๒๕๖๖

    พรรณไม้แต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะ นิสัย รูปทรงของทรงพุ่ม รูปทรงของใบ สีของดอก ช่วงเวลาการออกดอก ติดผล ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโต ปริมาณในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และฝุ่น ซึ่งมีผลต่อการลดมลพิษ ทำให้การดูแลต้นไม้แตกต่างกัน

     

  • เทคนิคการเชื่อมต่อท่อลำเลียงน้ำและอาหารของต้นไม้

    สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล

    พืชลำเลียงน้ำและแร่ธาตุผ่าน xylem โดยลำเลียงจาก รากขึ้นสู่ใบเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง ลำเลียงอาหารผ่าน phloem จากใบไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช

     

  • ตัดแต่งต้นไม้ ตามแนวสายไฟ

    รุกขกร กรมป่าไม้

    การปลูกต้นไม้ใกล้แนวสายไฟ ควรพิจารณาคัดเลือกชนิดพันธุ์ที่จำนำมาปลูก จากลักษณะการเติบโตตามธรรมชาติ โดยควรมีความสูงต่ำกว่าระดับแนวสายไฟและควร ห่างจากเสาไฟ ๒-๓ เมตร การตัดแต่งต้นไม้ตามแนวสายไฟไม่ควรตัดบั่นยอดเพราะจะทำ ให้เกิดกิ่งกระโดงขึ้นไปชิดสายไฟอีก สร้างปัญหาใหม่ไม่จบ หรืออาจทำให้ต้นไม้อ่อนแอ จนหักโค่นลงมาซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ติดต่อ

ฝ่ายวิจัยการจัดการป่าไม้ในเมือง ส่วนวนวัฒนวิจัย สำนักวิจัยและพัฒนาการป่่าไม้ กรมป่าไม้
โทร. 02561 4292-3 ต่อ 5442