ลักษณะของไม้โตเร็ว
โดยทั่วไปเซลล์ของเนื้อไม้โตเร็วยังเจริญเติบโต หรือพัฒนาไม่เต็มที่ ดังนั้นเนื้อไม้ทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ของลำต้นจึงประกอบด้วยส่วนของกระพี้ หากจะมีส่วนแก่นบางก็เพียงส่วนน้อยเท่านั้น ไม้โตเร็วเมื่อถูกตัดโค่นหรือตัดทอนจะเกิดความแตกร้าวเริ่มจากส่วนไส้ไม้ไปหาบริเวณเปลือกเนื่องมาจากการปลดปล่อยความเค้นจากการเจริญเติบโตของไม้และเมื่อนำไม้ท่อนที่ยังสดอยู่ไปเลื่อยเป้นไม้แปรรูปจะเกิดการโค่งงอขึ้นทันทีขณะเลื่อย ปริมาณการแตกและการโค่งงอของไม้แปรรูปจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณเค้นจากการเติบโตที่แตกต่างกันไปในไม้แต่ละชนิดนอกจากนี้ไม้โตเร็วจะมีจำนวนตาไม้ค่อนข้างมาก การเรียงตัวของเซลล์เนื้อไม้ยังไม่ขนานกับแกนของลำต้นอย่างส่ำเสมอ ดังนั้น ไม้เยาว์ไวหรือไม้โตเร็วอายุน้อยเช่นนี้ มักจะมีเสี้ยนบิด เสี้ยนวน หรือเสี้ยนสน ประปนอยู่ในเนื้อไม้ด้วยเสมอการแปรรูปไม้ขนาดเล็ก
การแปรรูปไม้ขนาดเล็ก
การใช้ไม้ขนาดเล็กในลักษณะไม้แปรรูปนั้น ขนาดต้องโตพอสมควรเพื่อที่จะได้เนื้อไม้ส่วนของแก่นมากกว่าส่วนของกระพี้ โดยควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้วขึ้นไป มีลำต้นตรงเปลากลม ไม่คดงอ แต่เนื่องจากไม้แปรรูปที่ได้จากไม้ขนาดเล็กเมื่อยังสดอยู่จะมีการโค้งงอขณะเลื่อยและการแตกร้าวค่อนข้างมาก ดังนั้น เพื่อช่วยลดปัญหาการโค้งงอ ควรเลื่อยไม้ขนาดสั้น ความยาวประมาณ 1.50 – 2.50 ม. ไม้ท่อนขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง6-9 นิ้ว เลื่อยเป็นไม้แปรรูปแล้วไดผลผลิต 25 – 35 % โดยรวมไม้ที่โค้งงอ ติดไส้และแตกร้าวด้วย เมื่อนำไปใช้งานคงเหลือประมาณ 20 – 25 % ลักษณะการใช้งานเหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้ชนิดเล็กซึ่งหากต้องการไม้ที่มีขนาดใหญ่และหน้ากว้างขึ้น ก็ใช้วิธีการต่อความยาวหรืออัดประสานขนาดความหนาและความกว้างเข่าด้วยกัน
ดัชนีการใช้ประโยชน์โตเร็วบางชนิด
จากการศึกษาถึงอายุและขนาดของไม้โตเร็ที่นำมาทดลองประกอบกับคุณสมบัติต่างๆ เหล่านั้นมาทดลองทำผลิตภัณฑ์ผลที่ได้รับอาจสรุปย่อเป็นดัชนีการใช้ประโยชน์ไม้โตเร็ว ดังปรากฎในตาราง การเสนอตารางดัชนีนี้ วัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้เปรียบเทียบความเหมาะสมระหว่างไม้ชนิดต่างๆ เท่านั้น มิได้หมายความว่าจะใช้ไม้ชนิดนั้น ๆ ไม่ได้เลยหากดัชนี บอกว่า “ ไม่ดี” ซึ่งในกรณ เช่นนี้ หากผู้ใช้ประสงค์จะนำไปใช้ประโยชน์จริงๆ ก็อาจทำได้ แต่หมายความว่าจะต้องใช้เทคนิคในการทำสูงขึ้น หรือทำได้ยากกว่าไม้ชนิดอื่นๆ ที่ดัชนี บอกว่า “ ดี” หรือ “ ดีมาก” เป็นต้น
เทคนิคการแปรรูปไม้ การเลื่อยไม่ซุงเพื่อเป็นไม้แปรรูปมีวิธีการเลื่อยหลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เป็นที่นิยมมากที่สุดเนื่องจากให้ผลผลิตสูงสุด มีอยู่ 2 วิธี คือ
1. การเลื่อยดะ (Through & Through )
โดยการนำไม้ซุงมาเลื่อยเปิดปีกออกด้านหนึ่งตามภาพที่ 1 จากนั้นกลับไม่ซุง โดยด้านที่เปิดปีกวางบนแท่นเลื่อย ตามภาพที่ 2 แล้วทำการเลื่อยตามขนาดที่ต้องการ การเลื่อยไม้วิธีนี้ นิยมใช้แปรรูปไม้เพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมไม้ทำเครื่องเรือนหรืองานฝีมือ หรือบางกรณีที่ต้องการเลื่อยไม้ขนาดเล็กๆ
ข้อดี การปรับเปลี่ยนด้านเพื่อเลื่อยไม้น้อย
ข้อเสียเปอร์เซ็นต์ผลิตผลที่ได้ค่อนข้างน้อย การซอยข้างไม้แผ่นมากกว่าปกติ ทำให้สูญเสียเนื้อไม้
2. การเลื่อยเปิดปีก 2 ข้าง (Cant sawing ) การเลื่อยวิธีนี้จะนำไม้ซุงมาเลื่อยเปิดปีกทีละด้านจนได้ไม้เหลี่ยมที่สามารถเลื่อยออกตามขนาดและคุณภาพที่ต้องการ การเลื่อยไม้วิธีนี้นิยมเลื่อยมากที่สุด เพราะมีข้อดี คือ
1. ไม้แปรรูปที่ได้หรือปีกไม้ มีการซอยข้างน้อย
2. สามารถกำหนดความกว้างตามความต้องการ
3. เปอร์เซ็นต์ไม้แปรรูปที่ได้ค่อนข้างสูง
การเลื่อยไม้ซุงกรณีรูปทรงผิดปกติ
1. รูปทรงต้นตาล หัวและท้ายโตกว่ากันมาก ไม้ซุงที่มีความโตของโคนท่อนโตกว่าปลายท่อนมาก จะต้องนำมาเลื่อยตามวิธีการดังนี้
1.1 การเลื่อยไม้กรณีนี้ถ้าท่อนซุงยาวมากเราควรที่จะต้องทอนไม้ซุงนั้นออกเป็น 2 หรือ 3 ตามความยาวเพื่อลดความแตกต่างของส่วนหัวและท้ายของท่อนซุง นำไม้ซุงขึ้นบนรถเลื่อยเพื่อเลื่อย
1.2 เมื่อทำการเลื่อยไม้ซุงตามข้อ1.1 จนได้ขนาดหน้าไม้ที่พอใจ หรือคุณภาพที่ดีแล้ว จึงทำการพลิกซุงลงโดยให้ด้านที่เปิดปีกตั้งอยู่บนแท่นรถเลื่อน
1.3 เมื่อเลื่อยไม้ได้หน้าไม้เป็นที่พอใจและได้คุณภาพของไม้แปรรูปแล้ว ทำการพลิกด้านที่ 2 นี้ คว่ำลงบนแท่นเลื่อยแทนด้านที่ 1 จากนั้นทำการเลื่อยไม้ตามวิธีการอย่างที่เลื่อยทั้งสองครั้งที่ผ่านมา
1.4 ทำการเลื่อยซุงนี้อีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 4 โดยการพลิกซุงนี้อีกครั้ง โดยส่วนที่ต่างกันของส่วนหัวและท้ายหายไป จะได้ไม้เหลี่ยมที่สามารถออกตามขนาดและคุณภาพที่ต้องการ
2. ไม้ซุงโค้งหรืองอ ถ้าท่อนซุงมีลักษณะโค้งหรืองอและค่อนข้างยาว แก้ไขโดยการทอนไม้ซุงให้ได้ความยาวตามความเหมาะสม โดยให้ส่วนที่ตรงอยู่ในท่อนเดียวกันมากที่สุด
จากการศึกษาการเลื่อยไม้คดกับการเลื่อยไม้ตรงพบว่า ไม้คดให้แปรรูปน้อยกว่าการเลื่อยไม้ตรงประมาณ 15 % คุณภาพไม้แปรรูปจากไม้คดต่ำและไม้แปรรูปที่ได้ค่อนข้างสั้นอีกประการหนึ่งเวลาที่ใช้เลื่อยไม้ซุงที่คดโค้งนี้ใช้เวลานานกว่าการเลื่อยไม้ตรงประมาณ 28 %
3. หน้าตัดไม้ซุงแตกหรือปริ การนำไม้ซุงประเภทนี้เข้าเลื่อยใช้เวลาในการปรับซุงมากพอควร อาศัยหลักการว่ารอยแตกหรือปริตรงใจไม้ต้องตั้งฉากหรือขนานกับใบเลื่อย เหตุผลก็คือเพื่อให้ตำหนิดังกล่าวมีอยู่ในไม้แปรรูปน้อยแผนที่สุด
4. ไม้ซุงที่มีตากิ่ง หรือ บางส่วนผุ ไม้ซุงที่นำมาเลื่อยมีตำหนิเกิดขึ้นที่ท่อนซุง เช่น ตากิ่ง ผุ แผลไฟไม้ เป็นต้น เมื่อนำไม้เข้าเลื่อยควรหลีกเลี่ยงตำหนิดังกล่าว โดยให้ตำหนิเหล่านั้นติดอยู่กับไม้แปรรูปให้น้อยแผ่นมากที่สุด
4.1 กรณีเลื่อยตากิ่ง การเลื่อยวิธีนี้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่1-4
4.2 กรณีเลื่อยซุงบางส่วนผุ การเลื่อยวิธีนี้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ 1-3
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ นักวิชาการป่าไม้ สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้.
ข้อมูลจาก : การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้. 2547.
เรียบเรียง : บางรักษ์ เชษฐสิงห์ นักวิชาการป่าไม้ 5
จัดพิมพ์ : สุชาดา สุทธิศรีศิลป์ นักศึกษาฝึกงาน |