ภารกิจหลักของงานพัฒนาพลังงานจากไม้ คือ ดำเนินการศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์พลังงาน
จากไม้อย่างมีประสิทธิภาพและให้เป็นรูปธรรม โดยการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ภาครัฐ
ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ด้วยรูปแบบของการจัดฝึกอบรม การสาธิต การจัดนิทรรศการ
การเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้ที่มาติดต่อด้วยตนเองและทางโทรศัพท์  ผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับ
จากประชาชน  ได้แก่  การสร้างเตาเผาถ่าน และเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงของกรมป่าไม้  การ
แนะนำการใช้เตาเผากระดาษไหว้เจ้า เพื่อลดมลพิษการใช้เชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษไม้และเศษ
วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและการผลิตถ่านกัมมันต์อย่างง่าย
  ไม้เป็นแหล่งพลังงานที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยมาตั้งแต่อดีตกาล
ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการพัฒนาแหล่งกำเนิดพลังงาด้านต่าง ๆ ตลอดจนการนำเอาเชื้อเพลิงอื่นๆ
มาทดแทนไม้ฟืน เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปิโตรเลียม คือ
ถ่านหิน และก๊าซหุงต้ม  แต่พลังงานเหล่านี้เป็นพลังงานที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้
ในขณะที่ไม้และเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น แกลบ ซังข้าวโพด ชานอ้อย เป็นพลังงานที่
สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ ซึ่งเราเรียกว่าเป็นพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)

  ข้อสรุปแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ไม้เพื่อพลังงาน
1. พลังงานจากไม้ฟืนสามารถทดแทนพลังงานจากน้ำมันหรือถ่านหินได้
2. พลังงานจากไม้ฟืนให้มีเทน (CH4) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในอากาศน้อยกว่าพลังงาน
   ที่เกิดจากน้ำมันหรือถ่านหิน
3. มลภาวะในครัวเรือนและห้องครัวที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นตัวการที่ทำให้สุขภาพของคนเสื่อมลง
4. การใช้เตาหุงต้มที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคระบายทางเดินหายใจและ
   ทำให้สิ้นเปลื้องเชื้อเพลิงถ่านและไม้ฟืน
5. การปรับปรุงเตาหุงต้มให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายจะช่วย
   ลดการใช้ไม้ฟืนและลดสภาวะที่เป็นมลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อม
6. การส่งเสริมให้มีการปลูกไม้โตเร็วเพื่อใช้ทำถ่าน ฟืน และการผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กใช้ใน
ชุมชน (ไม่เกิน 100 kw) ด้วยระบบการเผาไหม้แบบแก๊สซิฟิเคชั่น (Gasification) สามารถ
ทำได้แม้จะต้องใช้เวลาในการคุ้มทุน ทั้งนี้ต้องได้รับงบประมาณสนับสนุนเครื่อง Gasifier
(เนื่องจากเครื่อง Gasifier มีราคาแพง

  ชื่อหน่วยงาน
   
งานพัฒนาพลังงานจากไม้ กลุ่มงานพัฒนาผลิตผลป่าไม้
   สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้
   โทร 0 2561 4292-3 ต่อ 5486, 0 2579 5411 โทรสาร 0 2579 541

  ที่ตั้งสำนักงาน
  
อาคาร 52  ชั้น  2

  ประวัติความเป็นมา
  
สืบเนื่องจากการเกิดภาวะวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันในปี พ.ศ. 2524 ทำให้รัฐบาลไทยร่วมมือ
กับองค์การ USAID ของสหรัฐอเมริกา ดำเนินการวิจัยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในด้าน
ต่างๆ                
  กรมป่าไม้ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในส่วนของโครงการปรับปรุงเตาหุงต้มชีวมวล
ในครัวเรือนและโครงการปรับปรุงการผลิตถ่านสำหรับชนบทดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2524-2527 หลังจากนั้นงานพัฒนาพลังงานจากไม้จึงถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2528 สังกัดฝ่ายวิจัยไม้
ขั้นประยุกต์ กองวิจัยผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ ประกอบด้วยหน่วยงานส่วนกลาง คือ งานพัฒนา
พลังงานจากไม้ และหน่วยงานส่วนภูมิภาค คือ ศูนย์วิจัยการผลิตถ่าน จังหวัดสระบุรี ต่อมาในปี
พ.ศ. 2535 กองวิจัยผลิตผลป่าไม้ถูกปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นส่วนวิจัยและพัฒนาผลิตผลป่าไม้
สังกัดสำนักวิชาการป่าไม้ ในปี พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุงโครงสร้างของสำนักวิชาการป่าไม้
ทำให้งานพัฒนาพลังงานจากไม้ถูกเปลี่ยนเป็นกลุ่มพลังงานจากไม้ และสำนักวิชาการป่าไม้เป็น
สำนักวิจัยเศรษฐกิจและผลิตผลป่าไม้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้มีพระราชกฤษฎีกาการโอน
กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม สำนักวิจัยเศรษฐกิจและผลิตผลป่าไม้ถูกเปลี่ยนเป็น สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และ
ผลิตผลป่าไม้ และกลุ่มพลังงานจากไม้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นงานพัฒนาพลังงานจากไม้ สังกัด
กลุ่มงานพัฒนาผลิตผลป่าไม้ ในปีพ.ศ. 2548 ศูนย์วิจัยการผลิตถ่านถูกเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัย
พลังงานจากไม้ จนมาถึงปี พ.ศ. 2552 สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ ถูก
เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้และศูนย์วิจัยพลังงานจากไม้ได้ถูกแยกออกจาก
งานพัฒนาพลังงานจากไม้ไปขึ้นตรงต่อกลุ่มงานพัฒนาผลิตผลป่าไม้
  จากปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2555 นับได้ 27ปีที่งานพัฒนาพลังงานจากไม้ถือกำเนิด
ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรภาครัฐ คือ กรมป่าไม้ หน้าที่หลักของงานคือการศึกษาวิจัยเพื่อ
พัฒนาคุณภาพพลังงานจากไม้ชนิดต่างๆ จากป่าเศรษฐกิจ การศึกษาและพัฒนา เทคโนโลยี
ด้านพลังงานจากไม้ เพื่อการใช้ประโยชน์จากป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน งานบริการทางวิชาการ
และสนับสนุนการพัฒนางานวิชาการอื่นๆ ภายในสำนักและหน่วยงานที่ขอความร่วมมือมาในปี
พ.ศ. 2555 มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ เป็นข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษ  3  นาย ระดับ
ปฏิบัติการ  1  นาย และพนักงานราชการ  5 นาย

ขอบเขตภารกิจ/หน้าที่ความรับผิดชอบ

    1. วิจัยและพัฒนาการใช้พลังงานจากไม้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในรูปฟืนและถ่าน
    2. ศึกษาและประยุกต์การใช้เชื้อเพลิงในรูปของแข็ง และก๊าซ
    3. ศึกษาศักยภาพทางพลังงานของไม้และถ่านไม้จากไม้ชนิดต่างๆ รวมถึงการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และวัสดุอื่นๆ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง
      ทดแทนไม้ฟืนและถ่าน
    4. วิจัยและพัฒนารูปแบบเตาเผาถ่าน และเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงรูปแบบต่างๆ
    5. ศึกษาและวิจัยการใช้ประโยชน์พลังงานชีวมวลและถ่าน ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปของเชื้อเพลิงและด้านอื่นๆ นอกเหนือจากใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ดูดกลิ่น กรองน้ำ ดูดซับสีและอื่นๆ
    6. ศึกษาทัศนคติและข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เชื้อเพลิง
      จากไม้ และถ่านของราษฎรในพื้นที่ป่าไม้
    7. ส่งเสริมและเผยแพร่การใช้พลังงานจากไม้การใช้เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงของ
      กรมป่าไม้ ตลอดจนเตาเผาถ่านประสิทธิภาพสูงแก่เกษตรกร รวมถึงการให้บริการด้านวิชาการแก่ประชาชนทั่วไป
    8. บริหารงานธุรการ งบประมาณ และอัตรากำลังของกลุ่ม

    วิสัยทัศน์

    พัฒนาเกษตรกรไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานจากไม้
    และการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ