กรมป่าไม้
สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้
งานอุตสาหกรรมวัสดุทดแทนไม้
 


โครงการพัฒนากาวติดไม้ ภายใต้งานอุตสาหกรรมวัสดุทดแทนไม้ --- สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้

หน่วยงานสนับสนุนการพัฒนา
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค)
โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย(ITAP) สวทช.
คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

>> | หน้าหลัก | ประเภทกาว | การติดกาวประสานไม้ | <<

5. การทากาว

กาวจะต้องทาไปบนผิวหน้าไม้อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่องทากาว ในกรณีที่เป็นเครื่องทากาวแบบลูกกลิ้งจะต้องพิจารณาเลือกดูที่ร่องของลูกกลิ้งที่เหมาะสม
ลูกกลิ้งมักจะทำจากวัสดุที่เป็นโลหะแล้วหุ้มด้วยปลอกยาง ในการเลือกใช้ลูกกลิ้งว่าจะทำจากวัสดุชนิดใด ต้องพิจารณาว่ากาวและตัวเร่งเป็นสารเคมีประเภทใด เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ผิวของลูกกลิ้งและร่องเสียหายได้
เมื่อใช้กาวประเภทอิมัลชั่น เช่น กาวโพลีไวนิลอาซีเตตหรือกาวลาเท็กซ์ มักจะไม่มีปัญหาต่อคุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำลูกกลิ้งนัก ส่วนผสมของกาวประเภทนี้จะไม่กัดกร่อนในขณะใช้งาน แต่หากเป็นกาวยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งใช้ตัวเร่งเป็นกรด จะมีฤทธิ์สามารถกัดกร่อนได้บ้างขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกรด และจะเกิดความเสียหายมากขึ้นหากมีการใช้ตัวเร่งแยกกับกาว โดยปกติลูกกลิ้งที่มีวัสดุพื้นผิวเป็นยางเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งก็จะสึกหรอจึงต้องทำการเปลี่ยนใหม่เป็นระยะ ๆ
การทากาวแบบให้เป็นสายคล้ายริบบิ้น เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทากาวที่ไม่ค่อยราบเรียบนัก ปริมาณของกาวที่ใช้เพื่อให้ได้การยึดติดที่ดี ขึ้นอยู่กับความเรียบและคุณสมบัติในการดูดซับของผิวหน้าไม้ รวมทั้งชนิดของกาวด้วย แต่ส่วนใหญ่จะใช้ปริมาณการทากาว100-200 กรัมต่อ ตารางเมตร สำหรับการใช้งานทั่วไปที่ไม่ใช่งานโครงสร้าง
โดยปกติสำหรับไม้ที่สามารถดูดซับกาวได้ การทากาวบนผิวหน้าด้านเดียวก็เพียงพอแล้ว แต่หากเป็นไม้เนื้อแข็งและมีผิวลื่นเป็นน้ำมัน (oily) หรือไม้ที่ยากต่อการติดกาว ก็ควรทำการทากาวทั้งสองผิวหน้าไม้ การใช้ระยะเวลาในการประกบไม้ (assembly time) ให้เพียงพอต่อการที่กาวสามารถเปียกบนผิวหน้าไม้และหลีกเลี่ยงการเยิ้มไหลออกของกาวในขณะอัดเป็นสิ่งจำเป็นมาก แนวทางที่พอจะนำไปพิจารณาในเรื่องนี้คือ ขอให้ใช้กาวในปริมาณที่เพียงพอเหลือเป็นหยดกาวเล็กน้อย ปรากฎออกมาตามรอยต่อกาวเมื่อทำการอัด

>> | หน้าหลัก | ประเภทกาว | การติดกาวประสานไม้ |<<
 

โครงการพัฒนากาวติดไม้ (Wood Adhesion and Adhesives Development Project)
งานอุตสาหกรรมวัสดุทดแทนไม้ กลุ่มงานพัฒนาอุตสาหกรรมไม้และป้องกันรักษาเนื้อไม้
สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้
ชั้น 5 อาคารสุรัสวดี 61 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0-2561-4292-3 ต่อ 471 โทรสา่ร 0-2940-6285 E-mail : [email protected]