กรมป่าไม้
สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้
งานอุตสาหกรรมวัสดุทดแทนไม้


โครงการพัฒนากาวติดไม้ ภายใต้งานอุตสาหกรรมวัสดุทดแทนไม้ --- สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้

หน่วยงานสนับสนุนการพัฒนา
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค)
โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย(ITAP) สวทช.
คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

>> | หน้าหลัก | ประเภทกาว | การติดกาวประสานไม้ | <<

1. ความชื้นของไม้ที่จะนำมาประสาน

เราหาปริมาณความชื้นของไม้ เป็นปริมาณร้อยละเทียบกับน้ำหนักแห้งของไม้ โดยใช้สูตร


น้ำหนักไม้ก่อนอบแห้ง - น้ำหนักไม้หลังอบแห้ง x 100
น้ำหนักไม้หลังอบแห้ง

วิธีการสามารถดูได้จากมาตรฐานที่เกี่ยวกับไม้ต่างๆ ทั้งในประเทศคือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และมาตรฐานต่างประเทศที่นิยมได้แก่ American Standard ASTM D 2016 เป็นต้น
สำหรับในโรงงานนิยมใช้เครื่องหาความชื้นไม้ขนาดเล็กและได้ผลรวดเร็วแทนการใช้ตู้อบ แต่ก็ต้องระมัดระวังใช้เครื่องให้ตรงกับคำแนะนำของผู้ผลิตเครื่องหาความชื้นในแบบและรุ่นนั้นๆ รวมทั้งต้องพยายามทำการเทียบวัดกับวิธีอื่น เพื่อให้ได้ค่าความชื้นที่เทียบตรงกับความเป็นจริงที่สุด
ไม้ก่อนที่จะทำการทากาวต้องทำการอบก่อน เพื่อให้ได้ความชื้นของไม้ระหว่าง 6 ถึง 15% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของบรรยากาศรอบๆบริเวณการผลิต แต่ระดับความชื้นที่เหมาะสมที่สุดควรอยู่ระหว่าง 10-12%
ประเด็นสำคัญที่จะละเลยเสียมิได้คือ พยายามทำให้ไม้ก่อนที่จะอัดประสานมีความชื้นของไม้ทุกชิ้นเท่ากันให้ได้มากที่สุด ซึ่งโดยปกติจะต้องมีความชื้นของไม้ชิ้นที่จะอัดประสานติดกันไม่เกิน 2% หากสามารถรักษาให้ความชื้นไม้ที่อัดติดกันมีความชื้นใกล้เคียงที่สุด ก็จะช่วยลดแรงดึงของไม้จากการพองตัวและหดตัวลงได้
การพองตัวและหดตัวของไม้มีสาเหตุจากความชื้นภายในไม้ที่ไม่คงที่ตามสภาวะอากาศต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อถูกนำไปใช้ในที่มีสภาวะอากาศที่ต่างจากบริเวณโรงงานที่ผลิต ทำให้ไม้ต้องมีการปรับตัวให้มีความชื้นสมดุลกับสภาวะอากาศขณะนั้น จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดไปด้วย หากไม้แต่ละชิ้นที่นำมาประสานมีความชื้นที่แตกต่างกันมาก เมื่ออัดประสานกันแล้วความเค้นที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายความชื้นของไม้นี้จะต้องระมัดระวังอย่างมาก โดยเฉพาะในกรณีของการส่งผลิตภัณฑ์ไม้ประสานไปยังประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา

นอกจากนี้ปริมาณความชื้นของไม้ยังมีผลต่อคุณสมบัติการติดกาวด้วย เนื่องจากกาวที่ใช้ส่วนใหญ่ในการผลิตไม้ประสาน เป็นกาวที่อาศัยการแพร่กระจายไปบนพื้นผิวของไม้ กลไกการติดกาวจะเกิดขึ้นจากการระเหยหรือสูญเสียตัวทำละลาย (โดยเฉพาะน้ำ) ออกจากแนวกาว ดังนั้นเมื่อไม้มีความชื้นสูงจึงต้องใช้ระยะเวลาในการอัดที่นานขึ้น เนื่องจากน้ำในแนวกาวจะถูกดูดเข้าสู่ไม้ได้ช้าลง ในทางกลับกันเนื้อกาวในแนวกาวกลับแทรกซึมลงสู่เนื้อไม้มากขึ้นด้วย ทำให้มีเนื้อกาวในแนวกาวน้อยลงจนทำให้เกิดรอยต่อไม่แน่น (starved joint)
ในทำนองเดียวกันหากไม้แห้งหรือมีความชื้นต่ำเกินไป น้ำในแนวกาวจะแทรกซึมลงสู่เนื้อไม้อย่างรวดเร็ว จนเป็นผลให้แนวกาวแห้ง เป็นอุปสรรคต่อการเปียก (การแพร่ขยาย) ของกาวบนผิวหน้าไม้ เกิดเป็นรอยต่อกาวไม่ติด (dried joint)

 

 

 

>> | หน้าหลัก | ประเภทกาว | การติดกาวประสานไม้ | <<
 

โครงการพัฒนากาวติดไม้ (Wood Adhesion and Adhesives Development Project)
งานอุตสาหกรรมวัสดุทดแทนไม้ กลุ่มงานพัฒนาอุตสาหกรรมไม้และป้องกันรักษาเนื้อไม้
สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้
ชั้น 5 อาคารสุรัสวดี 61 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0-2561-4292-3 ต่อ 471 โทรสา่ร 0-2940-6285 E-mail : [email protected]