BACK
2. รูปเส้นใยเชื้อเห็ดไผ่ซางเจริญเต็มถุงขี้เลื่อยในระยะเวลา 24 วัน
1.รูปเส้นใยเห็ดไผ่ซางเจริญเต็มอาหาร PDA ในจานเลี้ยงเชื้อขนาด 9 เซนติเมตรในระยะเวลา 7 วัน
การวิจัยเห็ดไผ่ซางและการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
Research on wild mushroom, Clitocybe infundibuliformis in bamboo forest and cultivation techniques.

เห็ดไผ่ซางเป็นเห็ดรับประทานได้จำหน่ายช่วงฤดูฝนทางภาคเหนือของประเทศไทยเห็ดชนิดนี้พบขึ้น
กับขอนไม้ผุเปื่อยในป่า (อนงค์, 2520) และในการสำรวจเบื้องต้นพบว่าเห็ดไผ่ซางจะพบในป่าไผ่ซาง และจะขึ้นกับโคนต้นลำไผ่ซางที่ตายแล้ว 1 ปีขึ้นไป เห็ดไผ่ซางจึงเป็นเห็ดที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้ป่าไผ่ซาง จึงควรสำรวจ ศึกษาเพื่อวิเคราะห์หาค่าทางเศรษฐกิจในการเพิ่มมูลค่าให้กับป่าไผ่อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ เห็ดไผ่ซางเป็นเห็ดชนิดใหม่ที่น่าจะมีศักยภาพที่จะเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อและเปิดดอกได้เชิงพาณิชย์ เนื่องจากเป็นเห็ดจำพวก saprophyte