การผึ่งและอบไม้

การผึ่งและอบไม้ หมายถึง ขบวนการหรือกรรมวิธีในการทำให้ความชื้นหรือน้ำระเหยออกจากเนื้อไม้ที่สดหรือมีความชื้นมากเกินพอ โดยเหลือปริมาณความชื้นอยู่ในเนื้อไม้ได้ส่วนสมดุลกับบรรยากาศที่อยู่โดยรอบไม้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์นั้น คือให้เหลือความชื้นอยู่ในไม้ประมาณ 1 ใน 10ของความชื่นสดหรือประมาณ 8 – 16 % ( 12% โดยเฉลี่ย) สำหรับสภาวะอากาศของประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการผึ่งและอบไม้ เพื่อให้เสียเวลาน้อยที่สุดและต้องไม่ทำให้ไม้เมื่อผึ่งและอบแล้วมีตำหนิน้อยที่สุด

ความจำเป็นที่ต้องการผึ่งและอบไม้

การผึ่งและอบไม้เป็นกรรมวิธีขั้นแรกของการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีดินฟ้าอากาศแบบโซนร้อน มีสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละท้องถิ่นจังหวัดและในแต่ละภาคแตกค่างกันออกไป จึงเกิดปัญหาในด้านการใช้ประโยชน์อย่างมาก แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ไม้เนื้อแข็งจะมีลักษณะโครงสร้างหรือกายวิภาคทางเนื้อไม้สลับซับซ้อนจึงมักจะเกิดตำหนิได้ง่าย

การผึ่งและอบไม้สามารถขจัดการสูญเสียไม้อันเกิดจากตำหนิต่าง ๆ เช่น การแตกที่ผิวและภายในเนื้อไม้ ( Cracking ) การแตกต่างตามหัวไม้ ( Splitting ) การบิดงอ ( Warping ) เหล่านี้ เป็นต้น ในขณะอบไม้ที่มีความชื้นสูงหรือไม้สด ถ้าไม่ควบคุมการระเหยของน้ำจากเนื้อไม้มักจะประสบปัญหาดังกล่าว อันเนื่องมาจากการยืดและหดตัวของไม้ สำหรับสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศไทยที่มีปริมาณความชื้นสมดุลของอากาศ 8-16% เช่นนี้จึงต้องมีความจำเป็นในการผึ่งและอบไม้ให้ได้ความชื้นสมดุลกับอากาศของแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้ไม้มีการคงรูปแน่นอนเมื่อนำไม้ไปใช้จะไม่มีการยืดหรือหดตัว ซึ่งอาจทำความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างได้ เช่น การเข้ารางลิ้น ข้อต่อ การบิดงอไปจากแนวระดับ และการแตกเสียหายของไม้

ระโยชน์ของการผึ่งและอบไม้

1. ทำให้ไม้มีน้ำหนักเบาเป็นผลดีต่อการขนส่งไม้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งต้นทุนในการขนส่งได้มาก
2. ทำให้ไม้หดตัวเสียก่อน ก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์
3. ทำให้ไม้อยู่ตัวหรือคงรูป มีการยืดหรือหดตัวน้อย ไม่เป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างต่าง ๆ
4. ไม้เมื่อแห้งดีแล้วจะมีคุณสมบัติด้านความแข็งแรง ( Strenght ) ดีกว่าเดิม
5. ความแข็งแรงของรอยต่อที่ต่อด้วยตะปูหรือตะปูควงจะดีขึ้น
6. ทำให้ไม้เป็นฉนวนความร้อนและฉนวนไฟฟ้าได้ดี
7. ทำให้ทาสีหรือทาน้ำมันชักเงาได้ดีขึ้น
8. ทำให้ไม้พ้นจากาการทำลายของแมลงและเห็ดราต่างๆ
9. ไม้ที่อบหรือผึ่งอย่างดีแล้วจะติดกาว อาบน้ำยารักษาเนื้อไม้หรืออาบน้ำยาทนไฟได้ดีขึ้น
10. ทำให้ใช้เก็บเสียงได้ดีขึ้น ( Sound absorption )

กรรมวิธีการผึ่งและอบไม้ ( Methods Used to Dry Lumber )
กรรมวิธีการผึ่งและอบไม้ที่ใช้กันทั่วๆไป มีอยู่ด้วยกันหลายวิธีขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานตลอดจนคุณภาพของไม้ที่อบแห้งให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจการลงทุนในปัจจุบัน ที่สำคัญที่นิยมใช้กันเสมอมีด้วยกัน 2 วิธี คือ

1. การผึ่งด้วยกระแสอากาศ ( Air drying or Seasoning )

เป็นการทำให้ไม้แห้งโดยวิธีธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ในอากาศได้ ดังนั้นการแห้งของเนื้อไม้จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและสภาพภูมิประเทศในบริเวณกองไม้ที่ทำการผึ่ง ดังนั้นปริมาณความชื้นในไม้จึงไม่แน่นอน การทำให้ความชื้นในไม้ต่ำกว่า 25% จึงจำเป็นต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน การผึ่งแห้งโดยกระแสอากาศนี้มีการปฏิบัติมากในหลายพื้นที่ ซึ่งสามารถทำการกองไม้ในที่โล่งแจ้ง หรือกองไม้โดยมีหลังคาคลุม (พบว่าในการอบแห้งด้วยเตาอบ จำเป็นต้องผึ่งกองไม้ในกระแสอากาศก่อนนำเข้าเตาอบเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนและเวลาในการอบ)

การผึ่งแห้งโดยกระแสอากาศนี้สามารถทำได้ทั้งไม้แปรรูปหรือไม้ท่อนขนาดเล็กที่ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น เสา หรือไม้ค้ำยัน หรือกองไม้ไว้เพื่อรอนำไปทำชิ้นไม้สับ ไม้ที่จะนำมากองผึ่งในกระแสอากาศควรจะทำการปอกเปลือกออกให้หมดเป็นดารป้องกันการเกิดเชื้อราหรือแมลงทำลายเนื้อไม้ บริเวณที่กองไม้ควรสะอาดปราศจากวัชพืชหรือเป็นแอ่งน้ำทั้งนี้พื้นดินที่กองไม้ควรมีความลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้น้ำได้ไหลผ่านสะดวกไม่ขังนอง พื้นดินควรมีการอัดแน่นสามารถรับน้ำหนักกองไม้ได้และไม่ควรมีเศษกรวด หิน หรือทรายบนพื้นเพราะจะติดไปกับเนื้อไม้ทำให้เป็นอันตรายต่อเครื่องมือแปรรูปต่างๆ วัชพืชในบริเวณใกล้เคียงควรกำจัดออกให้หมดเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยไม้เนื้ออ่อนท่อนเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 6 นิ้ว กองผึ่งในกระแสอากาศช่วงฤดูแล้งต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน เพื่อทำให้ความชื้นในไม้ลดลงเหลือประมาณ25-30% สำหรับไม้ท่อนต่างๆ ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 30 ซม. ขึ้นไปไม่ควรกองผึ่งไว้นานเกินไป ควรทำการแปรรูปไปใช้ประโยชน์โดยเร็ว เมื่อทำการแปรรูปแล้วจึงนำมากองไว้นานเกินไป ควรทำการแปรรูปไปใช้ประโยชน์โดยเร็ว เมื่อทำการแปรรูปแล้วจึงนำมากองไว้โดยบริเวณดังกล่าวควรมีการถ่ายเทของอากาศผ่านกองไม้แปรรูปได้สะดวก

ขนาดของกองไม้โดยมากไม่ควรให้กว้างเกนกว่า 2 ม. เพราะไม้ที่กองอยู่บริเวณกึ่งกลางของกองไม้จะแห้งค่อนข้างช้ากว่าไม้ส่วนอื่นๆ อาจทำให้เกิดเชื้อราหรือถูกทำลายจากแมลงส่วนความสูงของกองไม้ไม่มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความมั่นคงของกองไม้ไม่ล้มลงมาได้ง่าย ระยะห่างของแต่ละกองควรห่างกันพอประมาณเพื่อให้กระแสอากาศไหลผ่านได้ดีและสะดวกต่อการขนย้ายหรือรวมกอง ทั่งนี้ระยะห่างของกองไม้ไม่น้อยกว่า 30 ซม. กองไม้แต่ละกองควรสูงกว่าพื้นดินไม่น้อยกว่า 30 ซม. สำหรับไม้คั่น ที่นิยมใช้กับไม้แปรรูปมีอยู่ 2 ขนาด คือ ขนาด 1 x 1 นิ้ว และ 1 x ? นิ้ว ขนาดของไม้คั่นมีผลต่อการแห้งของแผ่นไม้ว่าเร็วหรือช้าไม้บางชนิดที่แห้งง่ายและเกิดตำหนิน้อย เราสามารถใช้ไม้คั่นได้หนาถึง1 ? นิ้ว เช่น ไม้สัก ไม้สะเดาเทียมการกองไม้มีความสำคัญอันดับแรกในการทำให้ไม้แห้ง ไม่ว่าจะผึ่งแห้งด้วยเตาอบไม้ ดังนั้นระยะของไม้คั่นต่อความหนาของไม้แปรรูปต้องสัมพันธ์กัน และแนวของไม้คั่นต้องเป็นเส้นตรงในแนวดิ่งเดียวกัน

ข้อแนะนำเกี่ยวกับความหนาและกว้างของไม้คั่น ( sticker ) กับระยะห่างของไม้คั่นกับความหนาของไม้แปรรูปที่จะกองมีทั้งนี้ระยะห่างและความหนาของไม้คั่นอาจเปลี่ยนแปลงไปจากตารางข้างต้นนี้ได้ขึ้นอยู่กับการสังเกตุของผู้ปฏิบัติงานสามารถดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เหมาะสมกับสภาพและสถานที่เป็นจริง ขณะทำการกองไม้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดแต่อย่างใด อนึ่งก่อนทำการกองไม้จำเป็นต้องมีการคัดแยกขนาด โต ยาว หรือขนาดของไม้ที่จะกองให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน จากนั้นจึงทำการกองไม้ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในไม้แปรรูป การกองไม้ที่มีขนาดความหนาต่างกัน ไม่ควรต่างกันเกินกว่า 1 นิ้ว เพราะทำให้การแห้งของไม้แตกต่างกันควบคุมความชื้นในไม้เป็นไปด้วยความลำบากและอาจเกิดตำหนิได้สำหรับบางโอกาศที่ไม่สามารถคัดแยกได้ทันกองไม้หนึ่ง ๆ ควรให้ความยาวของกองไม้เท่ากันหรือหัวท้ายกองไม้ไม่มีไม้ขนาดความยาวต่างๆกันยื่นออกไปจากกอง กองไม้ที่หัวท้ายสม่ำเสมอกระแสอากาศสามารถหมุนเวียนผ่านกองไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้การแห้งของไม้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ บางฤดู เช่น ฤดูฝนการกองไม้ควรกองใต้โรงเรือนหรือมีหลังคาคลุมกองไม้ เพื่อป้องกันน้ำและความชื้นของอากาศ เข้าไปในกองไม้มากเกินควร นอกจากจะทำให้ไม้แห้งช้าแล้วอาจเป็นสาเหตุ ทำให้ไม้แห้งช้าแล้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดชื้อราบนเนื้อไม้ได้ เช่นไม้ยางพารา ไม้สน เป็นต้น

2.การอบแห้งด้วยเตาอบ ( kin drying )

การทำทำให้ไม้แห้งโดยวิธีนี้ เราสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ได้ตามต้องการ และสามารถทำให้การแห้งของไม้เป็นไปอย่างต่อเนื่องช้าหรือเร็วได้ ไม้ที่ผ่านการอบแล้วจะมีปริมาณความชื้นตามความต้องการตรงกับประโยชน์ที่จะนำไม้นั้นๆ ไปใช้งาน การอบแห้งที่ดีต้องใช้เวลาน้อยสุดเพื่ออบให้มีความชื้นตามต้องการและปราศจากตำหนิต่างๆ ที่จะเกิดในไม้ดังนั้นการอบแห้งด้วยเตาอบ ( kiln drying ) ใช้เงินทุนสูงกว่าการผึ่งแห้งโดยกระแสอากาศแต่ระยะเวลาที่ใช้อบแห้งเพียง1/10 ถึง 1/30 เท่าของเวลาที่ใช้ผึ่งแห้งโดยกระแสอากาศ

ปัจจุบันมีการพัฒนาโดยผสมผสานระหว่างการผึ่งแห้งด้วยกระแสอากาศและอบแห้งด้วยเตาอบ ทำให้ไม้ที่จะนำเข้าเตาอบมีความชื้นต่ำลงและความแตกต่างของความชื้นน้อยโดยชั้นแรกกองไม้ผึ่งไว้ในกระแสอากาศให้ความชื้นของไม้โดยเฉลี่ยประมาณหรือต่ำกว่า 30% กองไม้นี้ต้องกองอยู่ในโรงเรือนที่มีฝา 3 ด้าน ฝาด้านข้างกองไม้หนึ่งด้านติดพัดลม เพื่อให้การหมุนเวียนของอากาศรอบกองไม้ดีและเร็วขึ้นเป็นการเร่งให้การระเหยของน้ำในไม้มากขึ้น การกองไม้ควรให้ปริมาณมากเพียงพอต่อการเข้าอบไม้ในแต่ละครั้งของแต่ละเตา ผลดีของการเตรียมไม้ไว้รอเข้าเตาอบ โดยเวลาในการทำการผึ่งไม้นี้ ( Predrying ) นานพอๆ กับเวลาใช้ไม้ด้วยเตาอบในแต่ละครั้ง เมื่อไม้ในเตาอบแห้งได้ตามความชื้นที่ต้องการแล้ว เราสามารถนำไม้ที่ผึ่งโดยกระแสอากาศเข้าเตาอบต่อไป จากที่ได้มีการทดลองในหลายประเทศปรากฏว่าถ้านำไม้ที่สดอยู่แล้วมาทำการอบด้วยเตาอบโดยมิได้ผึ่งกระแสอากาศให้ไม้หมาดลง เวลาที่ใช้ในการอบแห้งด้วยเตาอบพบว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 ถึง 5 อาทิตย์ ไม้จึงจะแห้ง ข้อพึงระวังในการนำไม้เข้าเตาอบควรคำนึง คือ

1. ชนิด และขนาดของไม้ ควรเป็นชนิด และขนาดเดียวกัน

2. กรณีที่จำเป็นต้องคละขนาด ไม่ควรให้ขนาดความหนาต่างกันเกิน 1 นิ้ว

3. ไม้ที่มีความชื้นมากสุด ( กรณีที่กองผึ่งไม้ในกระแสอากาศก่อนเข้าเตาอบไม้ที่อยู่กลางกองจะเป็นไม้ที่มีความชื้นสูงสุด กรณีคละความหนาไม้ที่มีความชื้นสูง กรณีคละความหนาไม้ที่มีความหนาสูงสุดจะมีความชื้นมาก ) ต้องนำมาเป็นไม้ตัวอย่างหาความชื้นขณะทำการอบไม้

4. กรณีคละชนิดไม้เข้าเตาอบ ไม้ที่มีคุณสมบัติในการอบแห้งยาก ต้องใช้ตารางอบไม้สำหรับการอบไม้ชนิดนั้นเป็นหลักในการอบ

ดังนั้น ในการทำให้ไม้แห้งไม่ว่าจะโดยวิธีผึ่งกระแสอากาศหรืออบไม้ด้วยเตาอบต้องควบคุมไม่ให้ผิวหน้าไม้แห้งเร็วเกินไป เช่น การผึ่งกระแสอากาศจำเป็นต้องมีโรงเรือนคลุมหรือวัสดุคลุมกองไม้เพื่อป้องกันการเสียน้ำมากและเณ็วเกินไป ส่วนการอบไม้ด้วยเตาอบต้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ให้เหมาะสม เพราะถ้าผิวหน้าไม้ภายนอกแห้งเร็วเกินไปขณะเดียวกันภายในเนื้อไม้ยังมีความชื้นสูงอยู่ พบว่าถ้าความชื้นของเนื้อไม้ด้านนอกแตกต่างกับความชื้นในไม้เกิน 5% จะเกิดแรงเค้นในเนื้อไม้เป็นสาเหตุของการตำหนิต่างๆ ได้ เช่น โค้ง อาการแข็งนอก ( Case hardening ) แตกแบบรังผึ้ง ( honeycombing ) ในเนื้อไม้ได้ ทั้งนี้ตำหนิต่างๆ อาจเกิดจากคุณสมบัติเฉพาะตามธรรมชาติของเนื้อไม้ เช่น ลักษณะเสี้ยนไม้ อายุของไม้ที่นำมาใช้งานพบว่าไม้โตเร็ว เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้สะเดาเทียม การเจริญเติบโตที่รวดเร็วของไม้ทำให้เกิดแรงเค้นขึ้นในเนื้อไม้ โดยไม้ที่มีอายุน้อยแรงเค้นจากากรเจริญเติบโต ( growth stress ) ค่อนข้างรุนแรงทำให้เกิดอาการแตกที่ปลายไม้ได้ง่าย ดังนั้น ในการอบแห้งจำเป็นต้องทาสีที่หัว-ท้ายของไม้ เพื่อลดการคายความชื้นในไม้เร็วเกินไป ขณะเดียวกันปลายไม้ทั่งสองด้านต้องใช้ไม้คั่ววางทั้งสองด้านให้พอดีกับหัวและปลายไม้และบนสุดของกองไม้ ควรวางน้ำหนักกดทับกองไม้ด้วย เนื่องจากไม้โตเร็วเมื่อศูนย์เสียความชื้นในไม้ แรงเค้นจากการเจริญเติบโตจะโดนปล่อยออกมาด้วย อาจทำให้ไม้เกิดตำหนิ โก่ง หรือโค่งได้ เพื่อป้องกันและลดอาการดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเอาน้ำหนักทับกองไม้ไว้ขณะทำการอบแห้งหรือผึ่งในกระแสอากาศ ดังนั้นรูปแบบในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับไม้โตเร็วจำเป็นต้องสังเกตุอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับไม้ จากที่กล่าวมาข้างต้นมิได้เป็นข้อปฏิบัติตายตัวจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติต้องบันทึกจดไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการอบหรือการผึ่งแห้ง

ดังนั้น การอบไม้ที่เกิดตำหนิได้ง่าย การใช้ตารางอบต้องระมัดระวังเป็นพิเศษอุณหภูมิไม่ควรสูงมาก ความชื้นสัมพันธ์ภายในตาช่วงแรกของการอบแห้งควรสูงกว่าปกติ ขณะเดียวกันการหมุนเวียนของกระแสลมในเตาอบต้องมีเพียงพอ เราจำเป็นต้องรู้ว่ากระแสลมภายในเตามีความเร็วเท่าใด เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนความชื้นสัมพัทธ์ให้เหมาะสมถูกต้อง

ปริมาณความชื้นในไม้ที่ใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ของประเทศไทยที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีดังนี้คือ

1. ไม้แปรรูปอบ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

ประเภทที่ 1 ไส้ประตูไม้แผ่นเรียบ ความชื้นอยู่ระหว่าง 8-12%

ประเภทที่ 2 ไม้พื้นและไม้ภายในอื่นๆ ความชื้นอยู่ระหว่าง 12-16%

ประเภทที่ 3 ไม้ทำลังใส่ของ ความชื้นไม่เกิน 20%

  • ชิ้นไม้ปูพื้นปาร์เกไม้สัก ปริมาณความชื้นอยู่ระหว่าง 12-16 %
  • ชิ้นไม้ปูพื้นปาร์เกไม้กระยาเลย ปริมาณความชื้นอยู่ระหว่าง 12-16 %

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ นักวิชาการป่าไม้ สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้.

ข้อมูลจาก : การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้. 2547.
เรียบเรียง : บางรักษ์ เชษฐสิงห์ นักวิชาการป่าไม้ 5
จัดพิมพ์ : สุชาดา สุทธิศรีศิลป์ นักศึกษาฝึกงาน