โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นประกอบหญ้าแฝกกันปลวก
ภายใต้โครงการวิจัย
และพัฒนาปฏิสัมพันธ์ของหญ้าแฝกกับปลวกเพื่อสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
Research and Development on the Relationship of Vetiver Grass Termites to Serve the Royal Initiation of this Majesty the King

วรธรรม อุ่นจิตติชัย
จรัส ช่วยนะ
ขวัญชัย เจริญกรุง
อิทธิพล แจ้งชัด
พัฒนะ รักความสุข
ทรงกลด จารุสมบัติ

บทคัดย่อ

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นประกอบหญ้าแฝกกันปลวกเป็นโครงการวิจัยที่อยู่ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาปฏิสัมพันธ์ของหญ้าแฝกกับปลวกเพื่อสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำเนินการโดยกรมป่าไม้ร่วมกับ กรมพัฒนาที่ดิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2544 การดำเนินงานปีที่ 2 มีผลงานวิจัยก้าวหน้าที่น่าสนใจ สรุปได้ดังนี้


ชุดโครงการวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นประกอบหญ้าแฝกกันปลวก ซึ่งประกอบไปด้วย 5 โครงการย่อยนั้น มีผลงานวิจัยโดยสรุปแต่ละโครงการดังนี้


โครงการวิจัยย่อยที่ 1 ทำการผลิตแผ่นที่ระดับความหนาแน่นที่ต่าง ๆ กัน 4 ระดับ คือ 700, 800,900 และ 1100 กก./ ลบ.ม. โดยใช้กาวไอโซไซยาเนต 5% ของน้ำหนักแห้งของใบหญ้าแฝก 2 กลุ่มสายพันธ์ คือ แฝกดอนพันธุ์ราชบุรี และแฝกลุ่มพันธุ์มอนโต แล้วศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของแผ่นที่ผลิตได้ พบว่าแผ่นที่ผลิตได้จากแฝกทั้ง 2 กลุ่มพันธุ์ ให้ค่าแข็งแรงผ่านเกณฑ์มาตรฐาน JIS A 5908 - 1994 ที่ใกล้เคียงกัน ยกเว้นแฝกดอนพันธุ์ราชบุรีที่ความหนาแน่น 700 กก./ ลบ.ม. ซึ่งให้ค่าความแข็งแรงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของแผ่นที่ผลิต โดยการเพิ่มสารเติมเต่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยเติมสารเติมเต่ง 4 ชนิด คือ ชิ้นไม้สัก ใบไม้เสม็ด รากแฝกลุ่ม และสารกำจัดแมลงไบเฟนทรินลงในการผลิตแผ่นแฝกดอนจากราชบุรี และแฝกลุ่มพันธุ์มอนโต พบว่าค่าความแข็งแรงของแผ่นที่ผสมสารเติมแต่งต่างชนิดกัน ให้ค่าความแข็งแรงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน JIS A 5908 - 1994 ใกล้เคียงกัน และค่าความแข็งแรงลดลงเมื่อเพิ่มสัดส่วนการเติมสารเติมเต่งในการผลิตเพิ่มขึ้น


โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การศึกษาเพื่อพัฒนาต้นแบบขนาดย่อมเพื่อการผลิตแผ่นชิ้นแฝกอัด โดยได้พัฒนาเครื่องต้นแบบ 4 ประเภท คือ เครื่องสับบด เครื่องผสมกาว เครื่องอัดเย็นและเครื่องอัดร้อน โครงการวิจัยย่อยที่ 2 นี้ ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นชิ้นแฝกอัดในเชิงอุตสาหกรรมด้วย ผลการศึกษา พบว่าการผลิตแผ่นชิ้นแฝกอัดเพื่อขายในรูปของแผ่น เพื่อทดแทนไม้ไม่คุ้มทุน แต่การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นแฝกอัดให้อยู่ในระดับที่คุ้มทุนและน่าจะดำเนินการ


โครงการวิจัยย่อยที่ 3 เป็นการศึกษาการเตรียมพอลิเมอร์คอมโพสิตจากหญ้าแฝก และศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุที่เตรียมได้ ผลการศึกษาพบว่าสามารถเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้หญ้าแฝกอีกรูปแบบหนึ่ง โดยใช้เทคนิคการผสมแบบหลอมเหลว (Melt blending) เทคนิคการอัดรีด (Extrusion) แผ่นอัดมีแนวโน้มว่าจะสามารถเพิ่มความทนทานต่อการเข้าทำลายของปลวกได้ดีขึ้นโดยเฉพาะ สารเติมเต่งที่เป็นผงไม้สัก และใบเสม็ด สำหรับการศึกษาและทดสอบวัสดุพอลิเมอร์คอมโพสิต จากเส้นใยหญ้าแฝกโดยเปรียบเทียบ polymer matrix 5 ชนิด ซึ่งมีหญ้าแฝกในอัตราส่วนผสมต่าง ๆ กัน พบว่า ทุกทรีทเม้นต์มีความทนทานต่อการเข้าทำลายของปลวกได้ดีในห้องปฏิบัติการ


 

ปีที่เผยแพร่ 2546